บทเห่ชมปลา
กาพย์
พิศพรรณปลาว่ายเคล้า
|
คิดถึงเจ้าเศร้าอารมณ์
|
มัตสยายังรู้ชม
|
สาสมใจไม่พามา
|
นวลจันทร์เป็นนวลจริง
|
เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา
|
คางเบือนเบือนหน้ามา
|
ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย
|
เพียนทองงามดั่งทอง
|
ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
|
กระแหแหห่างชาย
|
ดั่งสายสวาทคลาดจากสม
|
แก้มช้ำช้ำใครต้อง
|
อันแก้มน้องช้ำเพราะชม
|
ปลาทุกทุกข์อกกรม
|
เหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง
|
น้ำเงินคือเงินยวง
|
ขาวพรายช่วงสีสำอาง
|
ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง
|
งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี**
|
ปลากรายว่ายเคียงคู่
|
เคล้ากันอยู่ดูงามดี
|
แต่นางห่างเหินพี่
|
เห็นปลาเคล้าเศร้าใจจร
|
หางไก่ว่ายแหวกว่าย
|
หางไก่คล้ายไม่มีหงอน
|
คิดอนงค์องค์เอวอร
|
ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร
|
ปลาสร้อยลอยล่องชล
|
ว่ายเวียนวนปนกันไป
|
เหมือนสร้อยทรงทรามวัย
|
ไม่เห็นเจ้าเศร้าบ่วาย
|
เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ
|
เนื้อน้องฤๅอ่อนทั้งกาย
|
ใครต้องข้องจิตชาย
|
ไม่วายนึกตรึกตรึงทรวง
|
ปลาเสือเหลือที่ตา
|
เลื่อนแหลมกว่าปลาทั้งปวง
|
เหมือนตาสุดาดวง
|
ดูแหลมล้ำขำเพราคม
|
แมลงภู่คู่เคียงว่าย
|
เห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม
|
คิดความยามเมื่อสม
|
สนิทเคล้าเจ้าเอวบาง
|
หวีเกศเพศชื่อปลา
|
คิดสุดาอ่าองค์นาง
|
หวีเกล้าเจ้าสระสาง
|
เส้นเกศสลวยรวยกลิ่นหอม
|
ชะแวงแฝงฝั่งแนบ
|
ชะวาดแอบแปบปนปลอม
|
เหมือนพี่แอบแนบถนอม
|
จอมสวาทนาฏบังอร
|
พิศดูหมู่มัจฉา
|
ว่ายแหวกมาในสาคร
|
คะนึงนุชสุดสายสมร
|
มาด้วยพี่จะดีใจ
|
กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
อ้างอิง : เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร.กาพย์เห่เรือบทเห่ชมปลา. (๒๕๕๔). ค้นเมื่อ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๖.
จาก http://pranpanninlive.exteen.com/page-3
จากบทประพันธ์ข้างต้น
ผู้ประพันธ์มีความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษาเพื่อสร้างงานวรรณกรรม ประเภทร้อยกรอง “กาพย์เห่เรือบทชมปลา ของ
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร” จากบทประพันธ์จะปรากฏโวหารภาพพจน์
ดังนี้
๑. โวหารอุปมา
เป็นโวหารที่เป็นการเปรียบเทียบของสองสิ่งว่าคล้ายกัน ใช้คำเชื่อม ปาน ดั่ง เหมือน เสมือน ดุจ ประดุจ ฯลฯ ซึ่งปรากฏในบทประพันธ์ข้างต้น ดังนี้
เพียนทองงามดั่งทอง
|
ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
|
กระแหแหห่างชาย
|
ดั่งสายสวาทคลาดจากสม
|
ข้อความดังกล่าวเป็นการอุปมา
ปลาเพียนทองว่ามีความงดงามอย่างทองมากแต่ไม่งดงามเท่ากับน้องที่ห่มผ้าตาดพรายและเปรียบเทียบปลากระแห
ซึ่งมีการเล่นคำว่าแหห่าง เปรียบเสมือนว่าพี่ต้องห่างจากน้อง
ปลาสร้อยลอยล่องชล
|
ว่ายเวียนวนปนกันไป
|
เหมือนสร้อยทรงทรามวัย
|
ไม่เห็นเจ้าเศร้าบ่วาย ฯลฯ
|
ปลาเสือเหลือที่ตา
|
เลื่อนแหลมกว่าปลาทั้งปวง
|
เหมือนตาสุดาดวง
|
ดูแหลมล้ำขำเพราคม ฯลฯ
|
ข้อความดังกล่าวเป็นการอุปมา
ปลาเสือว่ามีดวงตาที่แหลมคมเหมือกับตานางที่มองแล้วมีความคมขำสวยงาม
ชะแวงแฝงฝั่งแนบ
|
ชะวาดแอบแปบปนปลอม
|
เหมือนพี่แอบแนบถนอม
|
จอมสวาทนาฏบังอร ฯลฯ
|
ข้อความดังกล่าวเป็นการปลาชะแวงและปลาชะวาดที่กำลังว่ายน้ำลำตัวแนบแอบชิดกันเหมือนกับตอนที่พี่นั้นได้อยู่ใกล้น้อง
๒. โวหารอุปลักษณ์
เป็นโวหารที่ใช้เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเป็น หรือคือสิ่งเดียวกัน คำเชื่อมที่ใช้
เป็น คือ เท่า ได้แก่
ซึ่งปรากฏในบทประพันธ์ข้างต้น ดังนี้
น้ำเงินคือเงินยวง
|
ขาวพรายช่วงสีสำอาง
|
ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง
|
งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี
|
ข้อความดังกล่าวเป็นการบอกว่าปลาที่มีสีน้ำเงินนั้นเป็นปลาเงินยวง
จากบทประพันธ์ข้างต้นนี้ลักษณะ ถ้อยคำ
ใช้ถ้อยคำเกลี้ยงเกลาสละสลวย ไพเราะด้วยการสัมผัสและทำให้เกิดภาพพจน์
มีรสในวรรณคดีที่ปรากฏในบทประพันธ์ คือ
๑. เสาวรจนี
เป็นรสความไพเราะเกี่ยวกับการชม ความงาม อาจเป็นความงามของปลาและนางอันเป็นที่รัก
๒.นารีปราโมทย์ เป็นรสที่แสดงความรักใคร่
หรือบทโอ้โลม
ขอบคุณมากเลยคับ น้ำตาจะไหล
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ